รับทำ SEO รับทำ SEO

รับทำ SEO

มั่นใจ ติดอันดับต้น ๆ ของการค้นหาบน Google

รับประกันการ รับทำ SEO แบบ 100% ถ้าไม่ได้ผล เรายินดีคืนเงิน 100% เพราะเรามีทีมงานที่จะดูแลเว็บไซต์ของท่าน และมีประสบการณ์ในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ชื่อดัง

Read more...
รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บไซต์

รับทำเว็บไซต์

ด้วยประสบการณ์จากทีมงานมืออาชีพของ Wynnsoft Solution

คุณสามารถมั่นใจกับการให้บริการและการสร้างสรรค์ผลงาน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รับทำเว็บไซต์ เว็บบริษัท, เว็บขายสินค้า e-commerce

Read more...
รับเขียนโปรแกรม รับเขียนโปรแกรม

รับเขียนโปรแกรม

บริการ รับเขียนโปรแกรม ด้วย C#.net ,ASP.net และ Open Source ทุกรูปแบบ หรือจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น ระบบบัญชี ระบบสแกนลายนิ้วมือ รวมถึงการทำการตลาดออนไลน์ SEO และฝากแบนเนอร์ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของท่า

Read more...
รับติด Banner รับติด Banner

รับติด Banner

เรามีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในการช่วยเหลือลูกค้าและออกแบบเว็บไซต์ด้วยราคาที่คุ้มค่า เราพร้อมบริการทุกท่านด้วยความเป็นมิตรอย่างสูง พร้อมให้คำปรึกษาการวางแผนด้านการตลาดออนไลน์และการโปรโมทโฆษณา

Read more...
วิธีเขียนบทความการตลาด บนโลกออนไลน์

วิธีเขียนบทความการตลาด บนโลกออนไลน์

การเขียนและส่งบทความเป็นวิธีการทางการตลาด ที่มีประสิทธิภาพในการส่งผู้เข้าชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายไปยังเว็บไซต์ของเรา  ช่วยเพิ่มอันดับของเครื่องมือค้นหาของเรา และเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์หรือยอดขายของเรานั่นเอง

 

สำหรับพื้นฐานของการเขียนบทความนั้นจะคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าเราจะใช้ที่ไหนก็ตาม เราควรเขียนเพื่อใช้ Keyword (คำหลัก ) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่คำหลักนั้นไม่เยอะจนเกินไปหรือทำให้เนื้อหาผิดเพี้ยนไป

 

ซึ่งผู้อ่านต่างต้องการข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์สูงสุด ดังนั้นอย่าเขียนโฆษณาที่โจ่งแจ้งจนเกินไป โดยเราต้องค่อยๆ นำผู้อ่านไปสู่บริการหรือผลิตภัณฑ์ของเราโดยที่ไม่เป็นการรบกวนผู้อ่านนั่นเอง

1. มีจุดประสงค์เฉพาะ

หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่นักเขียนหน้าใหม่ส่วนใหญ่เผชิญคือ การหาแนวคิดที่จะเขียน โดยวิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้นคือ การเขียนในหัวข้อที่เรานั้นมีความสนใจ มีจุดประสงค์เฉพาะในใจเสมอก่อนที่เรานั้นจะเริ่มลงมือเขียน เช่น

  • มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อให้ความรู้

  • มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อแจ้งปัญหา

  • มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

  • มีจุดประสงค์ในการเขียนเพื่อปรับปรุงความนิยมของลิงก์สำหรับเว็บไซต์ของเรา

 

2. จำกัดหัวข้อของเราให้แคบลง

เมื่อเราตัดสินใจเกี่ยวกับหัวข้อทั่วไปแล้ว วิธีในการจำกัดหัวข้อให้แคบลงคือการเน้นไปที่ปัญหาที่ผู้อ่านของเรามี โดยปกติแล้วผู้คนอ่านบทความเพราะต้องการความบันเทิงหรือต้องการข้อมูล ดังนั้นการเขียนบทความที่ให้ข้อมูลสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่แบ่งปันเคล็ดลับ หลักการชี้นำคือการคาดหวังให้ผู้อ่านมองหา “มีอะไรให้ฉันบ้าง” ประมาณนี้ครับ

 

3. รู้จักกลุ่มเป้าหมายของเรา

แน่นอนว่าการเขียนบทความ เราควรที่จะทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายของเราก่อน มีประสบการณ์ ความสนใจ และความต้องการในหัวข้อที่เลือกอย่างไร พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดหรือปัญหาอะไร เป็นต้น

 

4. พัฒนาโครงร่างรายละเอียดก่อน โดยเน้นถึงประโยชน์

เมื่อเรามีจุดประสงค์และเป้าหมายแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้จัดระเบียบบทความของเรา เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นทันทีว่า เขาจะได้ประโยชน์จากบทความอย่างไร และอะไรคือประเด็นที่สำคัญที่สุด

 

5. สร้างชื่อเรื่องเพื่อหยุดผู้อ่านของเราในเส้นทางของเขา

สำหรับชื่อเรื่องของเราควรดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และบังคับให้เขาอ่านย่อหน้าแรกของเรา โดยเคล็ดลับคือการใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเรานั่นเอง

 

6. เริ่มบทความของเราด้วยข้อมูลที่สำคัญที่สุด 

เราต้องเข้าใจก่อนว่าผู้อ่านต้องการข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ให้เร็วที่สุดเวลาที่พวกเขากำลังหา ดังนั้นอย่าเก็บข้อมูลที่สำคัญที่สุดของเราไว้สำหรับข้อสรุป ให้ใช้ทันทีและใช้ย่อหน้าต่อไปนี้เพื่อพัฒนา

 

7. ใช้ศัพท์แสงให้น้อยที่สุด

เราเคยได้ยินคำนิยามคำว่า “อย่าหิวแสง” ที่คนไทยนิยมใช้กันไหมครับ เช่นเดียวกันกับการเขียนบทความหากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงศัพท์แสง ตลอดจนอคติและการดูถูกเหยียดหยาม เขียนบทความของเราให้แม้แต่เด็กก็สามารถเข้าใจได้

 

8. ทำให้บทความของเรานั้นอบอุ่นและเป็นส่วนตัว

ให้พยายามพูดโดยตรงกับผู้อ่าน และใช้คำว่า คุณหรือเราหรือท่าน เยอะๆ จะทำให้ผู้ที่มาอ่านบทความของเรานั้นรู้สึกอบอุ่นและเห็นอกเห็นใจ รู้ว่าเรามีปัญหาและเป้าหมายเดียวกัน

 

9. เขียนประโยคให้สั้นและเรียบง่าย 

การใช้ประโยคสั้นๆ และเรียบง่ายจะช่วยให้อ่านลื่นไหลและง่าย ป้องกันไม่ให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านบทความที่ยืดยาวไม่ได้ใจความสำคัญ ดังนั้นบทความจากเว็บควรมีความยาวประมาณ 400 คำ ซึ่งแตกต่างจากบทความขนาดยาว 

 

ดังนั้น หากเราแบ่งบทความออกเป็นบทนำ หัวข้อย่อยและบทสรุป เราอาจต้องเขียนเพียงประมาณ 50 คำในแต่ละหัวข้อ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้ข้อมูลที่ต้องการในเวลาเพียงสั้นๆ 

 

10. ให้คนจากกลุ่มเป้าหมายวิจารณ์บทความของเราได้

แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถให้ข้อเสนอแนะได้ดีกว่าคนจากกลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งมันจะช่วยให้เรานำไปปรับปรุงการเขียน หรือปรับปรุงข้อมูลในหัวข้อนั้นๆ ได้ อีกทั้งยังสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วมได้อีกด้วย

 

11. ตรวจสอบและปรับปรุง

นอกจากการจัดรูปแบบบทความของเราเพื่อให้อ่านและนำเสนอได้ง่ายแล้ว อย่าลืมใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมแก้ไขภายนอกเพื่อตรวจทานงานเขียนของเรา เช่น หาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์และการสะกดคำ ทั้งภาษาแม่และภาษาอังกฤษ

 

อีกทั้ง เมื่อเราเขียนบทความของเราแล้ว ให้เราเพิ่ม “เกี่ยวกับผู้เขียน” พร้อมลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเราด้วย และไม่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถส่งไปยังไดเรกทอรีบทความได้อีกด้วย

 

ในขณะที่เว็บไซต์อื่นๆ เผยแพร่บทความของเรา เครื่องมือค้นหาจะสร้างลิงก์ย้อนกลับแบบทางเดียวอันล้ำค่าไปยังเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มความนิยม อย่างไรก็ตาม การส่งบทความอาจเป็นกระบวนการที่น่าเบื่อ แต่ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์ที่ส่งไปยังหลายไดเรกทอรีจะทำให้งานง่ายขึ้นมาก






 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก: wynnsoftsolution readabilityformulas.com


วันที่ : 18/12/2023 14:10